วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โครงสร้างโปรแกรมภาษต่างๆ ต่อไปนี้


โครงสร้างโปรแกรมภาษต่างๆ ต่อไปนี้
1.      โครงสร้างของโปรแกรมภาษาPascal
ภาษาปาสคาลเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ชั้นสูงที่พัฒนาขึ้นโดย Niklaus Wirth และได้ตั้งชื่อว่าปาสคาล (Pascal) เพื่อให้เกียรติแก่นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ Blaise Pascal ภาษาปาสคาล พัฒนามาจากภาษา Algol โดยพัฒนาให้เป็นภาษาสำหรับฝึกหัดเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภาษาปาสคาลจะมีลักษณะเป็นภาษาคอมพิวเตอร์แบบประมวลความหรือคอมไพเลอร์ (Compiler) เมื่อเทียบกับภาษาคอมพิวเตอร์ชั้นสูงอื่น ๆ จะพบว่าภาษาปาสคาลเป็นภาษาที่มีการวางระบบและจัดรูปแบบที่มีโครงสร้างแน่นอนตายตัว จึงทำให้ภาษาปาสคาลเป็นภาษาที่เหมาะสำหรับการเขียนโปรแกรมโครงสร้าง (Structured Program) มากกว่าภาษาอื่น ๆ ที่ใช้กันอยู่จึงทำให้ได้รับความนิยมและนำมาประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย
โปรแกรมในภาษาปาสคาล แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
1.1 ส่วนหัว (Heading) เป็นการประกาศชื่อของโปรแกรม ขึ้นต้นด้วยคำว่า PROGRAM ตามด้วยชื่อของโปรแกรม และจบบรรทัดด้วยรูปแบบ
1.2 ส่วนข้อกำหนด (Declaration part) คือส่วนตั้งแต่ส่วนหัวไปจนถึงคำว่า BEGIN ของโปรแกรมหลัก และเป็นส่วนที่เรากำหนดค่าต่างๆ
1.3 ส่วนคำสั่งต่าง ๆ (Statement Part) เป็นส่วนสุดท้ายของโปรแกรม ขึ้นต้นด้วย “BEGIN” และปิดท้ายด้วย “END.”

2. โครงสร้างของโปรแกรมภาษา C
ภาษา C เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ถูกค้นคิดขึ้นโดย Denis Ritchie ในปี ค.ศ. 1970
โดยใช้ระบบปฏิบัติการของยูนิกซ์ (UNIX) นับจากนั้นมาก็ได้รับความนิยมเพิ่มขั้นจนถึงปัจจุบัน ภาษา C สามารถติดต่อในระดับฮาร์ดแวร์ได้ดีกว่าภาษาระดับสูงอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษาเบสิกฟอร์แทน ขณะเดียวกันก็มีคุณสมบัติของภาษาระดับสูงอยู่ด้วย ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงจัดได้ว่าภาษา C เป็นภาษาระดับกลาง (Middle –lever language)
ภาษา C เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ชนิดคอมไพล์ (compiled Language) ซึ่งมีคอมไพลเลอร์ (Compiler) ทำหน้าที่ในการคอมไพล์ (Compile) หรือแปลงคำสั่งทั้งหมดในโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่อง (Machine Language) เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์นำคำสั่งเหล่านั้นไปทำงานต่อไป
          2.1 เฮดเดอร์ไฟล์ (Header Files)
2.2 ส่วนตัวแปรแบบ Global (Global Variables)
2.3 ฟังก์ชัน (Functions)
2.4 ส่วนตัวแปรแบบ Local (Local Variables)
2.5 ค่าส่งกลับ (Return Value)

3. โครงสร้างของโปรแกรมภาษา Basic
BASIC ย่อมาจาก Beginner’s All-purpose Symbolic Instruction Code เป็นภาษาที่มีรูปแบบคำสั่งไม่ยุ่งยาก สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย มีรูปแบบคำสั่งพื้นฐานที่สามารถนำมาเขียนเรียงต่อกันเป็นโปรแกรมได้
        ภาษาเบสิคถูกพัฒนา เพื่อใช้ในการสอนนักศึกษา ปัจจุบันได้ขยายการใช้งานไปสู่งานทางธุรกิจอีกด้วย ภาษาเบสิคนิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์และมินิคอมพิวเตอร์ สามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายและรวดเร็วกว่าภาษาอื่น เหมาะกับงานธุรกิจขนาดเล็กและเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มศึกษาการเขียนโปรแกรม
ลักษณะการทำงานของภาษาเบสิค เป็นแบบโต้ตอบ (Interactive) คือ ผู้ใช้สามารถ ติดต่อสื่อสารกับเครื่องได้ระหว่างที่มีการเขียนโปรแกรม และรันโปรแกรม ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถพิมพ์โปรแกรมเข้าเครื่อง และแก้ไขข้อผิดพลาดได้ทันที เมื่อพบข้อผิดพลาด
ข้อดี คือ ง่ายต่อการเรียนรู้และสามารถใช้งานได้บนเครื่องทุกระดับ และยังสามารถถูกเขียนขึ้นเพื่อใช้ทำงานได้หลายประเภท
ข้อเสีย คือไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เกื้อหนุนต่อการเขียนโปรแกรมอย่างมีโครงสร้างที่ดี จึงไม่เหมาะในการพัฒนาโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่เนื่องจากมีความเร็วในการประมวลผลค่อนข้างช้า

4. โครงสร้างของโปรแกรมภาษา Assembly
การเรียนรู้เพื่อใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ สิ่งที่สำคัญในลำดับต่อมาจากที่ทำความเข้าใจถึงโครงสร้างทางฮาร์ดแวร์แล้วนั่นคือ การเขียนโปรแกรมเพื่อกำหนดให้ไมโครคอนโทรลเลอร์ทำงานข้อมูลของโปรแกรมที่ไมโครคอนโทรลเลอร์ต้องการจะอยู่ในรูปของรหัสเลขฐานสิบหกหรือที่เรียกกันว่าภาษาเครื่อง หรือ แมชีนโค้ด (Machine Code) แต่เนื่องจากการเขียนโปรแกรมในลักษณะที่เป็นภาษาเครื่องนี้ ผู้เขียนโปรแกรมต้องทำการเปิดตารางรหัสคำสั่งซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและทำให้การตรวจสอบโปรแกรมที่เขียนขึ้นกระทำได้ยากจึงใช้การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาแอสแซมเบลอร์(Assembler) ทำการแปลภาษาแอสแซมบลีที่เขียนขึ้นนั้นเป็นภาษาเครื่องแล้วเขียนลงในหน่วยความจำโปรแกรมของไมโครคอนโทรลเลอร์ต่อไป

ประกอบด้วย 4 ส่วนหลักคือ
4.1 ลาเบล (Label) ใช้ในการอ้างถึงบรรทัดใดบรรทัดหนึ่งของโปรแกรมที่ทำการเขียนขึ้น
4.2 รหัสนีโมนิก (Mnemonic) เป็นส่วนแสดงคำสั่งของไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ต้องการให้กระทำ
4.3 โอเปอร์แรนด์ (Operand) เป็นส่วนที่แสดงถึงตัวกระทำหรือถูกกระทำและข้อมูลที่ใช้ในการกระทำตามคำสั่งที่กำหนดโดยรหัสนีโมนิกก่อนหน้านี้
4.4 คอมเมนต์ (Comment) เป็นส่วนที่ผู้เขียนโปรแกรมเขียนขึ้นเพื่อใช้ในการอธิบายคำสั่งที่กระทำ หรือผลของการกระทำคำสั่งในบรรทัดหรือโปรแกรมย่อยนั้นๆ

5. โครงสร้างของโปรแกรมภาษา Java
ภาษาจาวาถือกำเนิดขึ้นจากความต้องการที่จะสร้างคอมไพเลอร์ภาษาคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นอิสระจาก Hardware รุ่นใดรุ่นหนึ่ง หรือยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง โดยจุดประสงค์แรกนั้นต้องการที่จะใช้เขียนโปรแกรม เพื่อควบคุมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ต่างๆ เช่น เตาอบ, เครื่องซักผ้า, โทรศัพท์, มือถือ, Set Top Box ของเคเบิ้ลทีวี ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ โดยการนำของ James Gosling หัวหน้า กลุ่ม Green Group แห่งบริษัท Sun Microsystems จึงได้เริ่มโครงการพัฒนาภาษาดังกล่าวอย่างจริงจัง ในปี 1991 โดยขั้นแรกชื่อว่า ภาษา Oak แต่หลังจากที่ไม่ประสบความสำเร็จในการนำไปใช้งานตามความคิดริเริ่มดังกล่าว ประกอบกับบริษัท Sun Microsystems เริ่มมองเห็นความจำเป็นที่ต้องมีภาษาที่สร้างโปรแกรมบนเครื่องหนึ่งแต่สามารถนำไปใช้งานบนเครื่องใดๆ ก็ได้ (Write Once Run Anywhere) บริษัทจึงได้นำเอาภาษา Oak มาพัฒนาต่อให้เป็นภาษาแบบ Object Oriented จนได้ภาษา จาวาขึ้นในปี 1995 และปัจจุบันได้มีหลายบริษัทพัฒนาภาษา จาวาขึ้นมาเป็นผลิตภัณฑ์ของตัวเองทั้ง Visual J++ (Microsoft) Visual Cafe (Sysmantec) และ Jbuilder (Borland) เป็นต้น

โครงสร้างของโปรแกรมภาษา Java
5.1 เครื่องหมาย ในการควบคุม Structure
5.2  กำหนดค่าเริ่มต้นให้ กับตัวแปร Array


5. โครงสร้างของภาษาCobol
ภาษาโคบอล จัดเป็นภาษาระดับสูง(High - Level Language) ซึ่งคำว่า COBOL ย่อมาจากคำว่า "Common Business Oriented Language" ซึ่งภาษาโคบอล เป็นภาษาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานด้านการประมวลผลในทางธุรกิจโดยเฉพาะ เป็นภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษมากที่สุด ซึ่ง Source Program สามารถในไปใช้เป็นเอกสารประกอบโปรแกรมได้ เพราะมีความละเอียดพอที่จะอ่านโปรแกรมได้อย่างเข้าใจ ภาษาโคบอลเป็นภาษาที่ไมเหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มศึกษาคอมพิวเตอร์ศาสตร์ เนื่องจากเป็นภาษาที่ค่อนข้างจะยาก และมีกฏเกณฑ์ต่าง ๆที่ยุงยากอยู่มิใช้น้อย ผู้ที่ต้องการจะศึกษาการเขียนโปรแกรมภาษาโคบอล ควรจะมีความรู้ในเรื่องของการประมวลผลข้อมูลเป็นอย่างดี และจะต้องศึกษาหรือมีความรู้พื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์ศาสตร์อยู่มากพอสมควร

โครงสร้างของภาษาCobol
5.1 สัญลักษณ์ในภาษา COBOL (มี 51 ตัว)
5.2 ประเภทของคำ (Types Of Words)

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ระบบเลขฐาน

1) ตารางเลขฐาน


เลขฐานสิบ
เลขฐานสอง
เลขฐานแปด
เลขฐานสิบหก
0
0000
0
0
1
0001
1
1
2
0010
2
2
3
0011
3
3
4
0100
4
4
5
0101
5
5
6
0110
6
6
7
0111
7
7
8
1000
10
8
9
1001
11
9
10
1010
12
A
11
1011
13
B
12
1100
14
C
13
1101
15
D
14
1110
16
E
15
1111
17
F



2) เลขฐานอื่นๆ เ ป็นเลขฐาน10
111100101 = 485

2FBC16 =12220
2868 =198

3) เลขฐาน10 เป็นฐานอื่นๆ
016 = 10,0002
016 = 208
016 = 1016